วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


สารอาหารที่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานไปใ้ในการทำงานของร่างกาย สร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายที่สึกหรอ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

  1. โปรตีน
  2. คาร์โบไฮเดรต
  3. ไขมัน

โปรตีน

  1. พบมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่าง
  2. โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
  3. หน่วยเล็กที่สุด คือ กรดอะมิโน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
    • กรดอะมิโนจำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงต้องได้รับจากอาหาร มีอยู่ 8 ชนิดได้แก่ ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน และวาลีน แต่ในเด็กจะต้องการพิ่มอีก 2 ชนิด:อาร์จีนีน และฮีสทีดีน
    • กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ แต่ก็สามารถได้รับจากอาหารที่ทาน ได้แก่ อะลานีน แอสพาราจีน กรดแอสพาร์ติก กรดกลูตามิก กลูตามีน ไกลซีน ซิสเทอีน เซรีน ไทโรซีน โพรลีน อาร์จินีน
  4. ประโยชน์
    • เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอ
    • เป็นสารตั้งต้นหรือจำเป็นต่อการสังเคราะห์ เอนไซม์ ฮอร์โมน ฮีโมโกลบิน สารภูมิต้านทาน
    • ให้พลังงานแก่ร่างกาย ในสภาวะที่ร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต และไขมัน
  5. การขาดโปรตีน
    • หากขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ร่างกายแคระแกรน อ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย
    • ตัวอย่างโรคขาดโปรตีน: ความชิออร์คอร์ มาราสมัส ตานขโมย
  6. โปรตีนจะถูกย่อยที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
  7. สารที่ใช้ทดสอบโปรตีน : ไบยูเรต

คาร์โบไฮเดรต

  1. พบใน ข้าว มัน เผือก น้ำตาล
  2. คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
  3. หน่วยเล็กที่สุด คือ โมโนแซคคาไรด์
  4. คาร์โบไฮเดรต แบ่งได้เป็น
    • น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซคคาไรด์ คือหน่วยย่อยของคาร์โบไฮเดรตซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย เช่น กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส
    • น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือไดแซคคาไรด์ จะประกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์ 2 ตัวมารวมกัน เช่น มอลโทส แลคโตส ซูโครส
    • โพลีแซคคาไรด์ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่อกันเป็นสายยาว เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส
  5. ประโยชน์
    • เป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายใช้ โดยเฉพาะสมองและเม็ดเลือดแดงซึ่งไม่สามารถได้พลังงานจากแหล่งอื่นนอกจากกลูโคสเท่านั้น
    • เป็นส่วนประกอบของสารที่สำคัญในร่างกาย เช่น สารจำพวกไกลโคโปรตีน ไกลโคไลปิด กรดนิวคลีอิค
    • เป็นแหล่งพลังงานสะสม เช่น ไกลโคเจน โดยคาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้จะเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน
    • สงวนการใช้โปรตีน เพราะการใช้โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต โดยดึงมาจากกล้ามเนื้อ
    • สงวนการใช้ไขมัน เพราะการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานจะเกิดสารคีโตน เมื่อมีสารคีโตนมากจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด โดยมากจะพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงาน
    • กรดกลูคูโรนิก จะช่วยเปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายให้มีความเป็นพิษลดลงเมื่อผ่านตับ และอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับออกได้
  6. ทานคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี หรือเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยน้อยมากไปทำให้เป็นโรคอ้วน เบาหวาน
  7. คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยที่ปาก (อะไมเลส) และที่ลำไส้เล็ก
  8. ทดสอบแป้งด้วยสารละลายไอโอดีน
  9. ทดสอบน้ำตาลด้วยสารละลายเบเนดิกต์

ไขมัน

  1. พบใน น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์
  2. ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี
  3. หน่วยเล็กที่สุด คือ กรดไขมัน และกลีเซอรอล
  4. กรดไขมัน แบ่งได้เป็น
    • กรดไขมันจำเป็น คือกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทาน เช่น กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก กรดอะแรคิโดนิก
    • กรดไขมันไม่จำเป็น คือกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ และยังสามารถได้จากการรับประทาน เ่น กรดสเตียริก กรดโอเลอิก
  5. ประโยชน์
    • เป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายใช้ เช่นเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส
    • ทำหน้าที่เป็นฉนวนช่วยควบคุมอุณหภูมืของร่างกาย
    • ช่วยป้องกันอวัยวะภายใน
    • ช่วยในการดูดซึมวิตามิน A D E K ที่ลำไส้เล็กและเข้าสู่หลอดเลือด ซึ่งวิตามินกลุ่มนี้ช่วยเรื่องสุขภาพตา สุขภาพผิว สุขภาพกระดูกและฟัน
    • คลอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ เช่นเอสโตรเจน เทสโทสเตอโรน
    • เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์
  6. ไขมันถูกย่อยที่ลำไส้เล็ก



















--