วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


ลมฟ้าอากาศ

เป็นสถานะของบรรยากาศ ร้อน, เย็น, ชื้น, แห้ง ฯลฯ ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศส่วนมากเกิดขึ้นในชั้นโทรโพสเฟียร์

เมฆและหมอก

  • เมฆ คือ กลุ่มของละอองน้ำขนาดเล็กที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ
  • เมฆชั้นสูงจะเป็นกลุ่มของผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กเนื่องจากมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
  • นักอุตุนิยมวิทยาแบ่งเมฆออกเป็น 3 ระดับ คือ เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง เมฆชั้นสูง
  • เมฆฝนจะมีคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส”
  • เมฆคิวมูโลนิมบัส คือ เมฆที่ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
  • เมฆนิมโบสตราตัส คือ เมฆแผ่นที่มีฝนตกปรอยๆ
  • เมฆเซอโรสตราตัส คือ เมฆที่ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด
  • เมฆที่แสดงว่าอากาศดี ได้แก่ เมฆเซอรัส, เมฆคิวมูลัส
  • หมอก คือ กลุ่มของละอองน้ำขนาดเล็กที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศเช่นเดียวกับ เมฆ
  • หมอกจะเกิดใกล้พื้นผิว ในขณะเมฆจะเกิดในที่สูงจากการยกตัวของกลุ่มอากาศ
  • ไอน้ำในอากาศจะปะทะกับพื้นผิวที่มีความเย็นทำให้เกิดการควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ

หยาดน้ำฟ้า

  • เป็นชื่อเรียกรวมหยดน้ำและน้ำแข็งที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น
  • ตัวอย่างเช่น ฝน ลูกเห็บ หิมะ

ฝน

  • เป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่ง
  • เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆ จึงตกลงมาเป็นฝน
  • ฝน เป็นหยดน้ำมีขนาดประมาณ 0.5-5 มิลลิตเมตร
  • ฝนส่วนใหญ่ตกลงมาจากเมฆนิมโบสตราตัส และเมฆคิวมูโลนิมบัส

วัฏจักรน้ำ

  • ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้น้ำในมหาสมุทรเกิดการเหย และพืชเกิดการคายน้ำ
  • ไอน้ำจะลอยตัวสูงขึ้นเมื่อกระทบ ความเย็นจะเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ และรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ
  • เมื่อเมฆมีขนาดใหญ่เนื่องจากมีอนุภาคของหยดน้ำและไอน้ำมากจะตกลงมาเป็นฝน
  • น้ำที่ตกจะไหลทั้งบนผิวดินและใต้ดิน และก็จะเกิดกระบวนการระเหยใหม่เป็นวัฏจักร

ลูกเห็บ

  • เป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่ง เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร
  • เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (เมฆพายุฝนฟ้าคะนอง) จะมีกระแสอากาศยกตัวและจมตัวสลับกัน ทำให้หยดน้ำถูกพัดขึ้นลงจนมีขนาดใหญ่ และเมื่อถูกพัดขึ้นไปสู่ด้านบนที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจะเกิดเป็นก้อนน้ำแข็งและประทะกับน้ำเย็นยิ่งยวด แล้วสะสมตัวกันจนมีขนาดใหญ่แล้วตกลงมาเป็น “ลูกเห็บ”

หิมะ

หิมะจะเกิดจากไอน้ำที่ควบแน่นเป็นผลึกน้ำแข็ง โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว ในชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 oC จากนั้นไอน้ำที่ระเหยอยู่โดยรอบจะจับตัวกับผลึกน้ำแข็งทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นเกล็ดหิมะ

น้ำค้าง

  • เกิดจากละอองไอน้ำในอากาศ โดยในวันที่อากาศมีความชื้นสูง อากาศจะไม่สามารถรับไอน้ำได้ประกอบกับอุณหภูมิในอากาศต่ำ ไอน้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเกาะอยู่ตามใบไม้
  • จุดน้ำค้าง (Dew Point) คือ อุณหภูมิที่ทำให้เกิดการควบแน่นจากไอน้ำเป็นหยดน้ำ
  • จุดน้ำค้างแข็งจะเกิดขึ้นเมื่ออากาศหนาวมาก
  • น้ำค้างแข็ง ในภาษาอีสาน เรียกว่า แม่คะนิ้ง
    ในภาษาพื้นเมืองทางเหนือ เรียกว่า เหมยขาบ


















--