วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมีความสัมพันธ์กัน


+ : ได้ประโยชน์
-: เสียประโยชน์
0: ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์


ความสัมพันธ์ ลักษณะความสัมพันธ์ รูปแบบ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต
เป็นกลาง (Neutralism) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อกัน เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์และไม่มีใครเสียประโยชน์ (0,0)
  • กระต่าย-แมงมุม
  • ผีเสื้อ-สิงโต
ได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากการอยู่ร่วมกัน แต่สิ่งมีชีวิตทั้งสองสามารถแยกกันดำรงชีวิตได้ (+,+) แยกกันอยู่ได้
  • ปูเสฉวน-ดอกไม้ทะเล
    ดอกไม้ทะเลมีเข็มพิษจึงช่วยป้องกันอันตรายจากนักล่าที่จะทำอันตรายปูเสฉวน ในขณะที่ดอกไม้ทะเลก็ได้รับโอกาสในการหาอาหารแหล่งใหม่ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งที่อยู่ใหม่ของปู รวมถึงได้เศษอาหารจากที่ปูบริโภคเหลือ
  • ผีเสื้อ-ดอกไม้
    ผีเสื้อได้น้ำหวานจากดอกไม้ ในขณะที่ดอกไม้เองได้รับการผสมพันธุ์หรือแพร่กระจายเกสรที่ติดไปกับผีเสื้อ
  • ควาย-นกเอี้ยง
    ควายได้ประโยชน์จากการที่นกเอี้ยงกินเห็บไร
พี่งพาอาศัย (Mutualism) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์จากการอยู่ด้วยกัน แต่ถ้าแยกกันไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ (+,+) แยกกันอยู่ไม่ได้
  • ไลเคนส์ (สาหร่ายสีเขียว/ไซยาโนแบคทีเรีย-รา)
    ราได้รับอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยสาหร่ายสีเขียว ในขณะที่สาหร่ายได้รับความชื้นและสารอาหารที่ราดูดซึมมา
  • แบคทีเรียไรโซเบียม-ถั่ว
    แบคทีเรียไรโซเบียมจัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจน ซึ่งจะเปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ได้ ในขณะที่พืชให้ที่อยู่อาศัยและสารอาหารแก่แบคทีเรีย
  • โปรโตซัว-ปลวก
    โปรโตซัวที่อาศัยในลำไส้ปลวกจะสร้างน้ำย่อยทีใช้ย่อยเซลลูโลส (แป้ง) ทำให้ปลวกสามารถบริโภคไม้, ใบไม้ได้ ในขณะที่โปรโตซัวได้ที่อยู่อาศัยและสารอาหาร
อิงอาศัย (Commensalism) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายไม่ได้รับและไม่เสียประโยชน์ (+,0) /(0,+)
  • กล้วยไม้-ต้นไม้ (+,0)
    กล้วยไม้ได้ประโยชน์คือได้อาศัยบนต้นไม้ ทำให้ปลอดภัยจากการรุกรานของศัตรูธรรมชาติ และยังช่วยให้สามารถรับแสงแดดได้ดีขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์
  • ฉลาม-เหาฉลาม(0,+)
    เหาฉลามได้เศษอาหารที่เหลือจากการกินของฉลาม ในขณะที่ฉลามไม่ได้และไม่เสียประโยชน์
ล่าเหยื่อ (Predation) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งเป็นอาหารของผู้ล่า (Predator)และอีกฝ่ายเป็นเหยื่อ(Prey) (+.-)/(-,+)
  • เสือ-กวาง (+,-)
    สิ่งมีีวิตทั้งสองชนิดอยู่ในฐานะผู้ล่าและเหยื่อ ฝ่ายผู้ล่าได้ประโยชน์คือได้อาหาร ฝ่ายเหยื่อเสียประโยชน์
  • แมลง-นก (-,+)
ปรสิต (Parasitism) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งอาศัยอยู่กับอีกฝ่าย โดยฝ่ายที่ถูกอาศํยเรียกว่า "โฮสต์ (Host)" ซึ่งเป็นฝ่ายที่เสียประโยชน์ ฝ่ายที่อาศัยเรียกว่า "ปรสิต (parasite)" (+.-)/(-,+)
  • เห็บ-สุนัข (+.-)
    เห็บดูดเลือดสุนัขเป็นอาหาร สุนัขได้รับความรำคาญและเห็บยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สุนัขได้
  • มนุษย์-พยาธิ (-,+)
    พยาธิมีที่สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์มีหลายชนิด และแต่ละชนิดก็ก่อให้เกิดโรคต่างกัน พยาธิบางชนิดแย่งสารอาหารทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร
แข่งขันกัน (Competition) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ต่างฝ่ายต่างต้องแข่งขันกัน เพื่อแย่งอาหาร, แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นต้น (-,-)
  • กระต่าย-วัว
    เป็นภาวะแข่งขันกันเพราะต่างบริโภคอาหารแบบเดียวกัน
  • เสือชีตาห์-สิงโต
    เป็นภาวะแข่งขันเพราะต้องแย่งที่อยู่อาศัยและอาหาร

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตจะมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัย โดยการปรับตัวสามารถปรับตัวได้ 3 รูปแบบคือ

  1. การปรับตัวด้านรูปร่าง (Morphological/Structural Adaptation)
  2. การปรับตัวด้านสรีระ (Physiological Adaptation)
  3. การปรับตัวด้านพฤติกรรม (Behavioral Adaptation)

การปรับตัวด้านรูปร่าง (Morphological/Structural Adaptation)

เป็นการปรับตัวทางด้านรูปร่างให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่อาศัยได้ ตัวอย่างเช่น

  • สุนัขจิ้งจอกทะเลทรายจะมีหูที่ใหญ่เพื่อระบายความร้อน สุนัขที่อาร์กติกจะมีหูเล็กเพื่อเก็บความร้อน ขอบคุณภาพจาก Pixabay: Desert Fox/ Artic Fox/Fox
  • จงอยปากนกจะแตกต่างกันตามประเภทอาหารที่บริโภค ขอบคุณภาพจาก Pixabay: Meat-eating bird/ Fruit and Nut-eating bird/ Nectar feeding bird/ Seed-eating bird/Fish-eating bird
  • ต้นกระบองเพชรเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ เป็นการลดการสูญเสียน้ำ ขอบคุณภาพจาก Pixabay: Cactus/ Cacti

การปรับตัวด้านสรีระ (Physiological Adaptation)

เป็นการปรับตัวภายในร่างกาย กระบวนการในร่างกาย-เมตาโบลิซึม ซึ่งมองเห็นได้ยากจากภายนอก ตัวอย่างเช่น

  • งูจะสร้างพิษเพื่อจับเหยื่อหรือป้องกันอันตราย
  • พืชบางชนิดสร้างสารพิษเพื่อไล่แมลง เช่น เลมอนเวอร์บีน่า, ตะไคร่หอม
  • น้ำลายของยุงมีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • ระบบไตของสัตว์ในทะเลทรายจะแตกต่างจากสัตว์ในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำสมบูรณ์ นกและสัตว์เลื่องคลานบางชนิดจะขับของเสียไนโตรเจนในรูปกรดยูริคซึ่งมีความเป็นพิษน้อยกว่า ยูเรีย เพราะกรดยูริคมีความเป็นพิษน้อยกว่าจึงไม่ต้องละลายน้ำ
ขอบคุณภาพจาก Pixabay: Lemon-verbena/ Lemongrass/ Mosquito

การปรับตัวด้านพฤติกรรม (Behavioral Adaptation)

เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น

  • หมีจำศีลในฤดูหนาว
  • สัตว์ทะเลทรายจะออกหากินในเวลากลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนในเวลากลางวัน
  • นกจะอพยพจากที่หนาวมายังประเทศที่มีความอบอุ่น
  • สัตว์เลื้อยคลานจะตากแดดเพื่อเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย
  • ดอกทานตะวันจะหันหาดวงอาทิตย์
ขอบคุณภาพจาก Pixabay: Sunflower/ Crocodile_Sunbathing/ Bird Migration

การปรับตัว สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่

  1. การปรับตัวแบบชั่วคราว เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การจำศีลของกบและหมี การเปลี่ยนสีของจิ้งจก
  2. การปรับตัวแบบถาวรเป็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น ต้นกระบองเพชรเปลีี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ, สุนัขจิ้งจอกทะเลทรายจะมีหูขนาดใหญ่เพื่อช่วยระบายความร้อน, หมีขั้วโลกจะมีขนสีขาวเพื่อพรางตัวให้กลมกลืนกับหิมะ


















--