วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


อาหารที่เรารับประทานจะให้ทั้งสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ได้เลย เช่น วิตามิน, เกลือแร่, น้ำ และ อยู่ในรูปที่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูปที่เซลล์สามารถนำไปใช้ได้ กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นสารอาหาร คือ การย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร

การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ

  1. การย่อยเชิงกล คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดของอาหารให้มีขนาดเล็ก
  2. การย่อยเชิงเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของอาหารโดยใช้น้ำย่อยหรือเอนไซม์
ระบบทางเดินอาหาร สาระสำคัญ
1. ช่องปาก
  1. มีการย่อยเชิงกล
    ฟัน ที่ช่วยบดให้อาหารมีขนาดเล็ก
  2. มีการย่อยเชิงเคมี
    ต่อมน้ำลายจะสร้างน้ำย่อยชื่ออะไมเลสหรือไทยาลิน จะย่อยแป้ง เป็น มอลโทส (มอลโทสจัดเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่)
2.หลอดอาหาร
  1. เป็นส่วนของทางเดินอาหารที่ต่อจากบริเวณคอหอย เป็นท่อตรงกลวง ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
  2. หน้าที่
    • เป็นทางผ่านของอาหารจากปากสู่กระเพาะอาหาร การเคลื่อนผ่านของอาหารจะเป็นการทำงานของทั้งกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ เรีกยว่า Peristalsis จะมีการบีบและคลาย
    • จะมีการสร้างเมือกช่วยหล่อลื่นในการเคลื่อนที่ของอาหาร
3. กระเพาะอาหาร
  1. มีการย่อยเชิงกล: การบีบรัดของกระเพาะอาหาร
  2. มีการย่อยเชิงเคมี: มีน้ำย่อยย่อยโปรตีน
  3. กระเพาะอาหารมีการสร้างกรด ซึ่งทำหน้าที่
    • เปลี่ยนน้ำย่อยเปปซิโนเจนให้เป็นเปปซิน
    • กำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
4. ลำไส้เล็ก
  1. แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
    ลำไส้เล็กตอนต้น (ดูโอดีนัม)
    ลำไส้เล็กตอนกลาง (เจจูนัม)
    ลำไส้เล็กตอนปลาย (อีเลียม)
  2. ทำงานได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง
  3. เป็นอวัยวะที่มีการย่อยและการดูดซึมอาหาร
  4. เกิดการย่อยเชิงเคมี
    • จะย่อยสารอาหารทั้งโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยน้ำย่อยจะได้จากที่สร้างเองและได้จากตับอ่อน นอกจากนี้ยังได้รับน้ำดี (ผลิตจากตับ)มาช่วยในการแตกตัวให้ไขมันมีขนาดเล็กลงทำให้น้ำย่อยเข้าไปย่อยได้ดีขึ้น
    • การย่อยจะเกิดที่บริเวณลำไส้เล็กตอนต้น
  5. การดูดซึม: เพื่อให้การดูดซึมอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลำไส้เล็กจึงมีขนาดยาว 6-8 เมตร และเยื่อบุผนังยังมีลักษณะปุ่มๆยื่นออกมาคล้ายกับนิ้วมือ เรียกว่า วิลไล (Villi) วิลไลนี้จะเชื่อมต่อกับเส้นเลือด

    ลักษณะที่มีปุ่มๆยื่นออกมาเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร จะเห็นว่าร่างกายมีวิวัฒนาการที่ดึงประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับให้มากที่สุด

5. ลำไส้ใหญ่
  1. มีขนาดความยาวประมาณ 1.5 เมตร
  2. ไม่มีการย่อย แต่จะมีการดูดซึมน้ำ, วิตามินและแร่ธาตุ อวัยวะในระบบทางเดินอาหารจะดูดซึมน้ำกว่า 80% ก่อนที่จะมาถึงลำไส้ใหญ่ และที่ลำไส้ใหญ่จะมีการดูดซึมน้ำที่เหลือกลับมา
  3. แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่ลำไส้ใหญ่จะ่วยสร้างวิตามินเช่น B1, B2, B6, B12, K และลำไส้เล็กก็จะดูดซึมวิตามินเหล่านี้
  4. อาหารส่วนที่เหลือซึ่งร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ก็จะเริ่มแข็งตัวและถูกขับออกทางทวารหนัก


    • การดื่มน้ำน้อยและรับประทานอาหารที่มีกากเส้นใยไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุให้อุจจาระแข็งซึ่งอาจะส่งผลให้เกิดปัญหาอุจจาระอุดตัน, โรคริดสีดวงทวาร
    • นักวิทยาศาสตร์เริ่มสนใจศึกษาแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ เพราะนอกจากแบคทีเรียนี้จะช่วยสร้างวิตามินให้กับร่างกายมนุษย์แล้ว ยังเชื่อว่ามีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายของเซลล์ประสาทที่ลำไส้ใหญ่ โดยอาจจะส่งสัญญาณตรงไปยังสมอง ส่งผลต่อความอิ่ม, ความหิว รวมถึงการเคลื่อนที่ของอาหารในลำไส้ (ข้อมูลจาก www.sciencelearn.og.nz/resources/1832-large-intestine-function)

  • ตับและตับอ่อนเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร แต่ไม่ได้อยู่ในระบบทางเดินอาหาร
  • ตับจะผลิตน้ำดีไปเก็บที่ "ถุงน้ำดี" และเมื่อใช้จะส่งไปที่ลำไส้เล็กตอนต้น
    น้ำดีไม่ใช่น้ำย่อย แต่มีหน้าที่ช่วยให้ไขมันแตกตัวมีขนาดเล็กลง จึงทำให้น้ำย่อยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ตับอ่อนจะผลิตน้ำย่อยสารอาหารทั้งโปรตีน, ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยจะส่งไปที่ลำไส้เล็กตอนต้น


















--