ความดัน (Pressure) คือ แรงที่กระทำตั้งฉากกับพื้นที่
จากภาพ จะเห็นได้ว่า น้ำจะรักษาระดับเสมอแม้ว่าภาชนะจะมีรูปร่างแตกต่างกัน
นักเรียนคิดว่าถ้าเรานำเครื่องวัดความดันไปวัดที่ตำแหน่ง A, B, C, D ตำแหน่งใดจะมีค่าความดันสูงสุด
เชื่อว่าหลายคนคงจะเลือกตำแหน่ง A เพราะมีปริมาณน้ำมากที่สุด แต่เป็นคำตอบที่ผิด เพราะในความจริงแล้วถ้าอยู่ที่ระดับเดียวกันแล้ว ทุกตำแหน่งจะมีค่าความดันเท่ากัน เพราะค่าความดันไม่ได้ขึ้นกับขนาดของภาชนะแต่ขึ้นกับความสูงของระดับน้ำ ถ้าความสูงเท่ากันค่าความดันก็เท่ากัน
จากสูตรจะเห็นว่าระดับความสูงของของเหลวมีผลต่อความดัน ยิ่งสูงมากความดันยิ่งมาก
ความดันของของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีค่ามากกว่าความดันของของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า จากสูตรเดียวกันจะเห็นว่า ความดันขึ้นกับความหนาแน่นของของเหลว ยิ่งความหนาแน่นของของเหลวมาก ความดันยิ่งมาก
อากาศจัดเป็นสสาร คือสิ่งที่มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อากาศมีน้ำหนักจึงมีแรงกด และเมื่อแรงกดกระทำตั้งฉากกับพื้นที่ จะเรียกว่า ความดันอากาศ
โมเลกุลของอากาศก็ถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงเข้าสู่ศูนย์กลาง ดังนั้นที่ระดับน้ำทะเลโมเลกุลอากาศจะหนาแน่นกว่าที่บนเขาทำให้ ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลสูงกว่าที่บนเขา โดยที่ระดับน้ำทะเลจะกำหนดค่าความดันอากาศที่ 760 มิลลิเมตรปรอท(mmHg) หรือเรียกว่า ความดัน 1 บรรยากาศ (ATM) และทุกๆความสูงที่เพิ่มขึ้น 11 เมตร ค่าความดันจะลดลง 1 mmHg
ความสูง แปรผกผัน ความดันอากาศ
ยิ่งสูง ความดันอากาศยิ่งลด
อุณหภูมิ แปรผกผัน ความดันอากาศ
อุณหภูมิเพิ่ม ความดันอากาศลด
อุณหภูมิลด ความดันอากาศเพิ่มขึ้น
(ใช้อธิบายได้ในระบบเปิด)
อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นเพราะความหนาแน่นน้อยจึงเบากว่าทำให้ลอย ส่วนอากาศที่เย็นความหนาแน่นจะมากกว่า หนักจึงจมลงด้วยความรู้นี้เราสามารถนำไปใช้อธิบายการเกิดลมบก-ลมทะเลได้