วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


สถานะของสาร

สถานะของสาร รูปร่าง ปริมาตร ความหนาแน่น ตัวอย่าง
ของแข็ง คงที่ คงที่ คงที่ เหล็ก, ไม้
ของเหลว ไม่คงที่ (เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ) คงที่ คงที่ น้ำ, น้ำมัน
แก๊ส ไม่คงที่ (เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ) ไม่คงที่ ไม่คงที่ อากาศ, แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

การเปลี่ยนสถานะของสาร

  • การหลอมเหลว คือการเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นของเหลว
  • การกลายเป็นไอ คือการเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวเป็นแก๊ส
  • การระเหิด คือการเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านสถานะของเหลว
  • การควบแน่น คือการเปลี่ยนสถานะของสารจากแก๊สเป็นของเหลว
  • การแข็งตัว คือการเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวเป็นแก๊ส

การใช้เนื้อสาร

การใช้เนื้อสารเป็นตัวจำแนก จะแยกได้เป็น

  • สารเนื้อเดียว
  • สารเนื้อผสม
  1. สารเนื้อเดียว
    • หมายถึง สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวตลอด
    • แบ่งเป็น สารบริสุทธิ์ และ สารละลาย
  2. สารบริสุทธิ์
    • สารที่มีส่วนประกอบหรือองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเฉพาะ เช่นจุดเดือด-จุดหลอมเหลวคงที่
    • จัดเป็นสารเนื้อเดียว
    • แบ่งเป็น ธาตุ และ สารประกอบ
  3. ธาตุ
    • จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์
    • ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว เช่น คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N)
  4. สารประกอบ
    • จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์
    • สารที่เกิดจากการรวมตัวทางเคมีของธาตุตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป โดยมีอัตราส่วนขององค์ประกอบที่แน่นอน
    • ตัวอย่างเช่น
      แก๊ส O2 ประกอบด้วย ธาตุ O(ออกซิเจน)จำนวน 2 ตัว
      โอโซน O3 ประกอบด้วย ธาตุ O (ออกซิเจน)จำนวน 3 ตัว
      น้ำ H2O ประกอบด้วย ธาตุ H (ไฮโดรเจน) จำนวน 2 ตัว และ ธาตุ O (ออกซิเจน) จำนวน 1 ตัว
      เกลือ NaCl ประกอบด้วยธาตุ Na (โซเดียม) จำนวน 1 ตัว และ ธาตุ Cl (คลอรีน) จำนวน 1 ตัว
  5. สารละลาย
    • จัดเป็นสารเนื้อเดียว แต่มีจุดเดือด-จุดหลอมเหลว ไม่คงที่
    • มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตร
    • ประกอบด้วย “ตัวทำละลาย” และ “ตัวถูกละลาย”
    • เกณฑ์การบอกว่า สารใดเป็นตัวทำละลาย ตัวใดเป็นตัวถูกละลาย
      • ถ้าอยู่ในสถานะเดียวกัน
        ให้ดูว่าจากปริมาณ ถ้าตัวใดมากกว่าตัวนั้นเป็น “ตัวทำละลาย” สารที่มีปริมาณน้อยกว่า ตัวนั้นเป็น “ตัวถูกละลาย”
        สาร ตัวถูกละลาย ตัวทำละลาย
        ของแข็ง
        ทองเหลือง สังกะสี ทองแดง
        นาก ทองคำ ทองแดง
        สัมฤทธิ์ ดีบุก ทองแดง
        นิโครม โครเมียม นิกเกิล
        เหรียญบาท นิกเกิล ทองแดง
        ของเหลว
        แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ น้ำ เอทานอล
        น้ำส้มสายชู กรดน้ำส้ม น้ำ
        แก๊ส
        ออกซิเจนในอากาศ แก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจน
        แก๊สหุงต้ม บิวเทน โพรเพน
      • ถ้าอยู่ต่างสถานะ
        ให้ดูว่าสถานะของสารใด เหมือนกับสถานะของสารละลาย
        สารที่มีสถานะเดียวกันสถานะของสารละลายจัดเป็น “ตัวทำละลาย”
        สารที่ต่างสถานะกับสถานะของสารละลายจัดเป็น “ตัวถูกละลาย”
        สาร ตัวถูกละลาย ตัวทำละลาย
        โลหะอะมัลกัม ปรอท (ของเหลว) โลหะเงิน (ของแข็ง)
        น้ำเชื่อม น้ำตาล (ของแข็ง) น้ำ (ของเหลว)
        น้ำเกลือ เกลือ (ของแข็ง) น้ำ (ของเหลว)
        ละอองน้ำในอากาศ ละอองน้ำ (ของเหลว) อากาศ (แก๊ส)
        แน้ำโซดา คาร์บอนไดออกไซด์ (แก๊ส) น้ำ (ของเหลว)
  6. สารเนื้อผสม
    • สารที่มองเห็นเป็นเนื้อผสม ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
    • แบ่งเป็น “คอลลอยด์” และ “สารแขวนลอย”
  7. คอลลอยด์
    • จัดเป็นสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-7 < คอลลอยด์ < 10-4 เซนติเมตร
    • เมื่อส่องแสง คอลลอยด์ -> เกิด“ปรากฎการณ์ทินดอลล์” จะเห็นเป็นลำแสง
      สารละลาย-> ไม่เห็นเป็นลำแสง สารแขวนลอย-> ทึบแสง
    • ตัวอย่างเช่น ควันไฟ, หมอก, เมฆ, นมสด, น้ำะทิ
  8. สารแขวนลอย
    จัดเป็นสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่า 10-4 เซนติเมตร อนุภาคสารไม่ละลายน้ำ แต่จะแขวนลอยอยู่ในตัวกลางและสามารถแยกอนุภาคได้ เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอนแต่ถ้าอนุภาคสารแขวนลอยมีขนาดเล็กจะไม่ตกตะกอน ถ้าต้องการแยกอนุภาคขนาดเล็กออกสามารถทำได้โดยนำไปกรองในกระดาษกรอง


การแยกสารด้วยกระดาษกรอง
  • ขนาดอนุภาคสารละลาย < คอลลอยด์ < สารแขวนลอย

  • สารที่ผ่านกระดาษกรองได้คือ สารละลาย และคอลลอยด์

  • สารที่ผ่านกระดาษเซลโลโฟนได้คือ สารละลาย

  • กราฟด้านขวามือแสดงจุดเดือดของสารบริสุทธิ์ และสารไม่บริสุทธิ์
  • สารบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดคงที่ เช่น น้ำบริสุทธิ์ จะมีจุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส
  • สารไม่บริสุทธิ์ เช่น สารละลาย, คอลลอยด์และสารแขวนลอย จะมีจุดเดือดไม่คงที่



















--