ทั้งหมด 15 ข้อ
ข้อใดคือจำนวนเฉพาะ
จำนวนเฉพาะคือจำนวนที่มีตัวประกอบ 2 ตัวคือ 1 และ ตัวมันเอง เช่น
7 มีตัวประกอบ คือ 1 และ 7
คำตอบคือ 19 มีตัวประกอบคือ 1 และ 19
4 มีตัวประกอบคือ 1, 2, 4
9 มีตัวประกอบคือ 1, 3, 9
14 มีตัวประกอบ คือ 1, 2, 7, 14
ข้อใดคือจำนวนเฉพาะ
จำนวนเฉพาะคือจำนวนที่มีตัวประกอบ 2 ตัวคือ 1 และ ตัวมันเอง
ข้อ ข ผิดตรง 21 ซึ่งมีตัวประกอบคือ 1, 3, 7, 21 และ 57 ซึ่ง มีตัวประกอบ คือ 1, 3, 19, 57
ข้อ ค ผิดตรง 49 ซึ่งมีตัวประกอบคือ 1, 7, 49
ข้อ ง ผิดตรง 81 ซึ่งมีตัวประกอบคือ 1, 3, 9, 27, 81
1-100 มีจำนวนเฉพาะทั้งหมดกี่ตัว
มีทั้งหมด 25 ตัว ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29, 31, 37, 41, 43, 47, 53, 59, 61, 67, 71, 73, 79, 83, 89, 97
ข้อใดคือตัวประกอบทั้งหมดของ 36
ตัวประกอบ คือเลขจำนวนใดที่หารเลขจำนวนนั้นๆลงตัว คำตอบคือ ง เพราะทุกตัวสามารถหาร 36 ได้ลงตัว
ข้อใดคือตัวประกอบเฉพาะของ 36
ตัวประกอบเฉพาะคือ ตัวประกอบที่ประกอบด้วย 1 และตัวมันเอง
คำตอบคือ ข้อ ข เพราะ 2 มีตัวประกอบคือ 1 และ 2 , 3 มีตัวประกอบคือ 1 และ 3 ข้อที่เหลือจะมีตัวประกอบที่ไม่จัดเป็นตัวประกอบเฉพาะ เช่น 4 เพราะ 1, 2 และ 4
6 เพราะมี 1, 2, 3 และ 6 เป็นต้น
ข้อใดคือตัวประกอบทั้งหมดของ 68
คำตอบคือ ค เพราะ ตัวประกอบทั้งหมดของ 68 คือ 1, 2, 4, 17, 34, 68 ข้อที่เหลือผิดเพราะ 3, 6 ไม่สามารถหาร 68 ได้
ข้อใดคือตัวประกอบเฉพาะของ 68
ตัวประกอบเฉพาะคือตัวประกอบที่ประกอบด้วย 1 และตัวมันเอง
คำตอบคือ ข้อ ก เพราะ 2 มีตัวประกอบคือ 1 และ 2
17 มีตัวประกอบคือ 1 และ 17
4 มีตัวประกอบคือ 1, 2, 4 ; 34 มีตัวประกอบคือ 1, 2, 17, 34 ; 68 มีตัวประกอบคือ 1, 2, 4, 17, 34, 68
ข้อใดคือตัวประกอบทั้งหมดของ 105
คำตอบคือ ค เพราะ ตัวประกอบทั้งหมดของ 105 คือ 1, 3, 5, 7, 15, 21, 35, 105
ข้อที่เหลือผิดเพราะมีตัวประกอบไม่ครบ และ 55 ไม่สามารถหาร 105 ได้ลงตัว
ข้อใดคือตัวประกอบเฉพาะของ 105
คำตอบคือ ข เพราะตัวประกอบเฉพาะคือ ตัวประกอบที่ประกอบด้วย 1 และตัวมันเอง
3 มีตัวประกอบคือ 1 และ 3
5 มีตัวประกอบคือ 1 และ 5
7 มีตัวประกอบคือ 1 และ 7
21 มีตัวประกอบคือ 1, 3, 7, 21
105 มีตัวประกอบคือ 1, 3, 5, 7, 15, 21, 35, 105
ข้อใดไม่ถูกต้อง
ข้อ ก. 1 ไม่ใช่ตัวประกอบเฉพาะ เพราะ 81 สามารถถูกหารได้ด้วย 3, 9, 27, 81
ข้อใดเป็นตัวประกอบเฉพาะที่ถูกต้อง
ตัวประกอบเฉพาะคือ ตัวเลขที่หารด้วย 1 และตัวมันเองเท่านั้น ดังนั้นคำตอบคือข้อ ข
ก. 8 ยังสามารถหารได้ด้วย 1, 2, 4, 8
ค. 7 เป็นตัวประกอบเฉพาะเพราะหารได้ด้วย 1, 7 เท่านั้น แต่ 12 สามารหารได้ด้วย 1, 2, 3, 4, 6, 12
จ. 3 เป็นตัวประกอบเฉพาะ แต่ 4 สามารถหารได้ด้วย 1, 2, 4
ถ้านำจำนวนเฉพาะที่น้อยกว่า 20 ทุกจำนวนมาบวกกัน ข้อใดคือผลบวก
จำนวนเฉพาะที่น้อยกว่า 20 ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19
2 + 3 + 5 + 7 + 11 + 13 + 17 + 19 = 77
ข้อใดคือค่าของ a, b และ c ตามลำดับ
24 แยกตัวประกอบได้เป็น 1, 2, 3, 4, 6, 8, 12, 24
ดังนั้นเลขที่หายไปคือ 4, 6, 8
พิจารณาข้ออื่นจะเห็นว่า 5, 7, 9, 10 ไม่สามารถนำไปหาร 24 และไม่เหลือเศษได้
ดังนั้นจึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง
ข้อใดคือค่าของ P
ถ้านักเรียนสังเกตจะเห็นว่า การแยกตัวประกอบของจำนวนหนึ่งๆ จะมีตัวประกอบคู่ของมันที่เมื่อนำมาคูณกันจะได้จำนวนนั้นๆ
เช่น 24: 1, 2, 3, 4, 6, 8, 12, 24
จะเห็นว่า 1 คู่กับ 24: 24 × 1; = 24, 2 คู่กับ 12: 2 × 12 = 24, 3 คู่กับ 8: 3 ×, 8 = 24, 4 คู่กับ 6: 4 × 6 = 24
ดังนั้น P: 1, 2, 3, 4, 6, 8, 12, 18, P
คู่แรกคือ P คู่กับ 1 ส่วนคู่ที่สองคือ 18 คู่กับ 2 : 18 × 2 = 36
ดังนั้น P = 36
ผลบวกของจำนวนเฉพาะที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 10 กับจำนวน เฉพาะที่อยู่ระหว่าง 20 ถึง 30 ต่างกันอยู่เท่าไร
คำตอบคือ ข้อ ข.
จำนวนเฉพาะที่อยู่ระหว่าง 1-10 ได้แก่ 2, 3, 5, 7 : 2 + 3 + 5 + 7 = 17
จำนวนเฉพาะที่อยู่ระหว่าง 23-30 ได้แก่ 23, 29: 23 + 29 = 52
ดังนั้นผลต่างคือ 52 – 17 = 35